10 สมุนไพรดูแลสะเก็ดเงินด้วยธรรมชาต

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่เกิดจากระบบน้ำเหลืองในร่างกายเราทำงานผิดปกติ ในทางการแพทย์แผนไทยจะเรียกว่าเป็น “ไข้หลบใน” คือเป็นโรคที่แฝงและหลบอยู่ในร่างกาย และการอักเสบต่างๆ ของสะเก็ดเงิน ก็เกิดจากการที่เลือดเรามีความสกปรก ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี ทำให้เกิดการอักเสบ คัน และเป็นผื่นแดงตามมา

การใช้สมุนไพรจึงต้องใช้สมุนไพรที่ช่วยขับพิษออกมาจากร่างกาย และต้องช่วยฟอกเลือดของผู้ป่วย ช่วยการไหลเวียนของโลหิต และที่สำคัญต้องมีสรรพคุณในการปรับสมดุลระบบน้ำเหลืองหรือภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้กลับมาเป็นปกติได้ด้วย สมุนไพรที่กล่าวมานี้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

สารบัญเนื้อหา

1.มะกรูด

ยาน้ำ-มะกรูด

มะกรูดมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกว่า มะขูด , มะขุน (ภาคเหนือ) , ส้มมั่วผี , ส้มกรูด (ภาคใต้) , โกร้ยเชีด (เขมร) , มะขู (แม่ฮ่องสอน)

มะกรูดเป็นพืชตระกูลส้มและมะนาว เป็นพืชที่พบเจอได้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย, พม่า, ลาว กัมพูชา มะกรูดจัดเป็นไม้ผล นอกจากมะกรูดจะนำมาทำอาหารได้แล้ว มะกรูดยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมายอีกด้วย มีตำรับยาพื้นบ้านบางที่ จะใช้น้ำมันมะกรูดมาดองเป็นยาที่เรียกว่า “ยาดองเปรี้ยวเค็ม” ที่ใช้ดื่มกิน เป็นยาฟอกโลหิตในสตรี ฟอกเลือดให้สะอาดได้ด้วย

สรรพคุณมะกรูด

  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่สูงมาก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
  • กระทุ้งพิษไข้ ไข้หลบใน แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
  • ช่วยฟอกโลหิต
  • น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความกังวล
  • เป็นยาบำรุงหัวใจ
  • แก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
  • แก้อาการไอ ขับเสมหะ
  • แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง
  • ช่วยบำรุงหนังศีรษะและบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง
  • แก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา

2.แก่นขี้เหล็ก

แก่นขี้เหล็ก-สมุนไพร

เป็นแก่นแห้งของพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Senna siamea (Lam.) Irwin et Barneby อยู่ในวงศ์ Fabaceae (Leguminosae) ชื่ออื่นๆ ที่เรียกกัน แก่นขี้เหล็กบ้าน, แก่นขี้เหล็กหลวง, แก่นขี้เหล็กใหญ่

พืชชนิดนี้เป็นพืชพื้นเมืองแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นตามป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และตามริมน้ำ พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แก่นขี้เหล็กมีลักษณะของแก่นไม้แห้ง รูปและขนาดต่างๆ กัน ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ มีเสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างหยาบ เหนียว เนื้อแข็งและมีน้ำหนัก มีรสขม

สรรพคุณแก่นขี้เหล็ก

ในตำราสรรพคุณยาไทยกล่าวเอาไว้ว่า แก่นขี้เหล็กมีรสขมเฝื่อน ใช้กินเป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง ถ่ายเส้น แก้กระสัย แก้กามโรค แก้หนองใน แก้หนองใสที่ผิว แก้เหน็บชา แก้ไฟธาตุพิการ เป็นยาระบาย ฟอกโลหิต ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา ทำให้ตัวเย็น

3.ไพลแห้ง

ไพลแห้ง-สะเก็ดเงิน

มีชื่อในท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ปูขมิ้น, มิ้นสะล่าง (แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ, ไพลเหลือง (ภาคกลาง) ปูเลย, ปูลอย (ภาคเหนือ) ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น

ต้นไพลเป็นไม้ล้มลุก ที่มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลือง ถึงสีเหลืองแกมเขียว เหง้าไพลสดจะมีลักษณะฉ่ำน้ำ มีรสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนเหง้าไพลแก่ ทั้งสดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ต้นไพลมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชีย เช่นในประเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย

สรรพคุณไพลแห้ง

ไพลสามารถนำมาทำเป็นครีม หรือผงขัดผิวได้ ช่วยปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดเลือนริ้วรอยที่ผิว ลดจุดด่างดำ ลดการอักเสบ สำหรับสรรพคุณภายในร่างกาย ไพลมีสรรพคุณในการช่วยขับโลหิต ขับพิษร้ายทั้งหลาย ช่วยขับระดู ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี ดูดหนอง สมานแผล ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

และในตำรับยา “ประสะไพล” ที่มีไพลเป็นส่วนประกอบหลักร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ  ในตำรับ มีสรรพคุณที่ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ และช่วยขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตรได้ดีอีกด้วย

4.รางจืด

รางจืด-สมุนไพร-สะเก็ดเงิน

รางจืด หรือ ว่านรางจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia Lindl เป็นพืชไม้เลื้อยหรือไม้เถา ที่มีเนื้อแข็ง  ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง ใบมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม

นานมาแล้วคนโบราณเชื่อว่า รางจืดช่วยแก้โรคสะเก็ดเงินได้ มีการใช้เพื่อล้างพิษต่างๆ ในร่างกาย แก้อาการผื่นคัน และโรคผิวหนังต่างๆ มีคนเรียกรางจืดว่า “ราชาแห่งการถอนพิษ” เวลาที่คนโบราณทานอาหารที่ผิดสำแดง ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ก็จะใช้รางจืดในการแก้อาการเหล่านั้น ในปัจจุบันมีงานวิจัยจากหลายๆ มหาวิทยาลัยที่พบว่า รางจืดสามารถขับพิษ ขับสารเคมีอันตราย ออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธภาพอีกด้วย

สรรพคุณรางจืด

ในสารสกัดน้ำใบรางจืดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยขับพิษ ช่วยลดความเป็นพิษของตับ จากแอลกอฮอล์ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ สามารถถอนพิษไข้ได้ ใบรางจืดสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ ช่วยดูแลผื่นแพ้ต่างๆ ช่วยแก้พิษจากพืชหรือจากสัตว์ที่เป็นพิษ ช่วยต้านการอักเสบต่างๆ ช่วยล้างพิษในร่างกาย ลดการเห่อของโรคสะเก็ดเงิน

ยังไม่แน่ใจว่าเป็นสะเก็ดเงิน??

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสะเก็ดเงิน?? สะเก็ดเงินอาการเป็นอย่างไร??

ถ้าเป็นแล้วต้องทำอย่างไร??

ปรึกษาปัญหาโรคสะเก็ดเงิน หรือสั่งซื้อสินค้า

ปุ่ม-โทรออก-สะลอง
Call Center โทร.093-589-3555
ปุ่ม-เพิ่มเพื่อน-ไลน์-สะลอง
@inthanonherbal
หรือจะสั่งซ์้อผ่านทางแอพพลิเคชั่น Lazada หรือ Shopee ก็สั่งได้เลย มีส่วนลดตลอด
สะลอง-lazada-shop-icon
shopee-shop-icon

5.ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง-สมุนไพร-สะเก็ดเงิน

ทองพันชั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz 

ทองพันชั่งเป็นไม้พุ่ม ต้นมีขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บริเวณโคนของลำต้นจะเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง และมีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ทองพันชั่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศเช่น อินเดีย, เกาะมาดากัสการ์, มาเลเซีย แล้วมีการกระจายพันธุ์ไปในประเทศเขตร้อนใกล้เคียง เช่น บังคลาเทศ, พม่า, ไทย, อินโดนีเซีย เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย มีการนำทองพันชั่งมาใช้เป็นยาสมุนไพรและนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคลมานานตั้งแต่อดีตแล้ว

รรพคุณทองพันชั่ง

ช่วยดับพิษไข้ มีรสเมาเบื่อแก้ไขเหนือ ใช้แก้อาการกลาก เกลื้อน ผดผื่น คัน แก้พยาธิผิวหนัง แก้อาการปวดฝี แก้อักเสบ ใช้ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ ไขข้ออักเสบ ไขข้อพิการ แก้โรคริดสีดวงทวารหนัก ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส น้ำต้มทองพันชั่ง สามารถนำมาช่วยทำให้ระบบน้ำเหลืองในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้ตุ่มตามตัวลดน้อยลง ลดอาการอักเสบในร่างกายได้ดี

6.ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius L. มีชื่อท้องถื่นว่า คำ, คำฝอย, ดอกคำ (ภาคเหนือ) คำยอง, คำหยอง, คำหยุม, คำยุ่ง (ลำปาง) หงฮัว (จีน) ดอกคำฝอย, คำทอง เป็นต้น

ดอกคำฝอยมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง มีทั้งพันธุ์ที่มีหนาม และไม่มีหนาม แบ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกและเติบโตได้ดีในเขตหนาว และเขตร้อน ในประเทศอินเดีย มีใช้ดอกคำฝอยในการผลิตน้ำมันพืช เพื่อใช้ภายในประเทศ ส่วนในประเทศจีนนิยมนำดอก ไปใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณ สำหรับประเทศไทย มีการปลูกดอกคำฝอยมากทางภาคเหนือ ในต่างประเทศได้มีการนำดอกคำฝอยมาใช้เป็นสีผสมอาหาร และใช้ผสมในเนยแข็งอีกด้วย

สรรพคุณดอกคำฝอย

แก้อาการแสบร้อนตามผิวหนัง เพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือด แก้อาการบวม โรคไขข้ออักเสบ และยังช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันไม่ให้อุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือด และร่างกายจะขับออกมาทางปัสสาวะและทางอุจจาระ

นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการทำลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย จากสารอนุมูลอิสระได้ด้วย บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ นอกจากนี้ในน้ำมันดอกคำฝอย ยังสามารถนำมาใช้ทา เพื่อดูแลโรคผิวหนังได้ และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย

7.ผักเป็ดแดง

ผักเป็ดแดง-ธรรมชาติ

ผักเป็ดแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Alternanthera bettzickiana (Regel) G.Nicholson มีชื่อท้องถิ่นในที่อื่น ๆ เช่นผักเป็ดฝรั่ง, ผักโหมแดง (ภาคเหนือ) พรมมิแดง, ปากเป็ด (ภาคกลาง) หยเฉ่า, หยินซิวเจี้ยน (จีนกลาง) เป็นต้น

ผักเป็ดแดงจัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่น ลำต้นเป็นร่องตามยาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปข้าวหลามตัดถึงรูปใบหอกกลับ รูปไข่ หรือรูปรี มีปลายใบแหลม

สรรพคุณผักเป็ดแดง

ช่วยฟอกเลือดและบำรุงโลหิตได้ดี ผักเป็ดแดงมีรสขื่นเอียน ใช้ดับพิษโลหิตได้ มีสรรพคุณในการดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้ระดูพิการ รวมถึงเลือดเป็นลิ่มเป็นก้อนดำเหม็นของสตรี ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ช่วยฟอกโลหิตและประจำเดือน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดี ในบางพื้นที่ จะนำผักเป็ดแดงมาปรุงเป็นยาฟอกเลือดด้วย

8.เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง-แห้ง-แก่น

เถาวัลย์เปรียง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Derris scandens (Roxb.) Benth. ชื่อตามท้องถิ่นอื่นๆ เช่น เถาวัลย์เปรียงขาว, เถาวัลย์เปรียงแดง (ภาคกลาง) เครือตาปลา, เครือไหล (เชียงใหม่) เครือตาป่า, เครือตาปลาโคก, เครือตาปลาน้ำ (ภาคอีสาน) ย่านเหมาะ, ย่านเบราะ (ภาคใต้)

เถาวัลย์เปรียงเป็นพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นของประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแกมสีเทา เปลือกเถาอาจมีร่องหรือคลื่นตามยาว มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เนื้อไม้สีออกน้ำตาลอ่อนๆ เนื้อไม้มีรูพรุนตรงกลาง มีรสเฝื่อน เอียน

สรรพคุณเถาวัลย์เปรียง

น้ำที่สกัดจากเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (ยับยั้งการสร้าง leukotriene B, ลดการหลั่ง myeloperoxide, ลดการสร้าง eicosanoid) และมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยต้านเชื้อรา ใช้เป็นยาขับระดู ช่วยขับโลหิตเสีย ช่วยฟอกเลือดให้สะอาด 

9.พลูคาว

พลูคาว-คาวตอง-ใบ

พลูคาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb. ชื่ออื่นๆ ที่เรียกกัน เช่น ผักคาวตอง, คาวทอง, ผักก้านตอง, ผักคาวปลา, ผักเข้าตอง (ภาคเหนือ) ส่วนทางภาคกลางมักจะนิยมเรียกว่า พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชที่มีอายุยืน และเป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือของไทย และยังพบได้ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย, อินเดีย (india) เรื่อยมาจนถึงจีน (china) ลาว (laos) เกาหลี (korae) เวียดนาม (vietnam) และไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น (japan) ซึ่งพลูคาวถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ความแตกต่างจากพลูก็คือ ที่ใต้ใบของพลูคาวจะมีสีแดงอ่อนไปจนถึงสีแดงเข้ม ในขณะที่พลูจะไม่มีสีแดง

สรรพคุณพลูคาว

พลูคาวมีสรรพคุณช่วยลดการเกิด Histamine ในแบบเดียวกับยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine และยังช่วยลดการผลิตเซลล์ที่มีชื่อว่า Rat Peritoneal Mast Cells (RPMC) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการบวม และมีผื่นคัน พลูคาวจะช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อที่ไปปิดทางเดินหายใจได้ด้วย

นอกเหนือจากนี้พลูคาวยังมีสรรพคุณต่างๆ อีกมากมายดังนี้

  • มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • แก้โรคข้อต่างๆ
  • แก้โรคผิวหนังต่างๆ
  • แก้น้ำเหลืองเสีย
  • ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษ
  • แก้ผื่นคัน แก้ฝีฝักบัว
  • ช่วยดูแลแผลให้แห้งร็วขึ้น ช่วยสมานแผล
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่างๆ เช่น ไข้ทรพิษ, หัด, งูสวัด, เริม
  • เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
  • ช่วยแก้โรคสะเก็ดเงิน

10.รากช้าพลู

ช้าพลู-ชะพลู-ใบ

ชะพลูหรือช้าพลู มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกว่า ผักพลูนก, พลูลิง,ปูลิง,ปูลิงนก,ผักปูนา (ภาคเหนือ) ผักแค,ผักอีเลิด,ผักนางเลิด (ภาคอีสาน) ชะพลู (ภาคกลาง) นมวา (ภาคใต้) เป็นต้น

ช้าพลูหรือชะพลู คนมักจะมีการจำสับสน จำสลับสลับกับต้นพลู หรือใบพลูที่คนแก่ในสมัยก่อนใช้กินหมาก สองต้นนี้เป็นคนละชนิดกัน ซึ่งใบของช้าพลูจะรสไม่จัดเท่ากับใบพลู และยังมีขนาดเล็กกว่าอีกด้วย

สรรพคุณรากช้าพลู

ช้าพลูเป็นสมุนไพรที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน มีอยู่ในตำรับยาตามประกาศของ คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติอีกด้วย รากช้าพลูเป็นส่วนประกอบหนึ่งในตำรับยา “ยาเบญจกูล” ซึ่งใช้ส่วนประกอบของรากช้าพลู และมีสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ

เป็นยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ ที่สำคัญคือแก้ธาตุให้เป็นปกติ และรากช้าพลูยังเป็นส่วนประกอบในตำรับยา “ยาเลือดงาม” เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด บำรุงโลหิตในร่างกายได้อีกด้วย

สรุป

สมุนไพรดูแลโรคสะเก็ดเงินแบบธรรมชาติทั้ง 10 ชนิดที่กล่าวมานี้ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณแตกต่าง และแยกกันไปในแต่ละส่วนของการดูแลโรคสะเก็ดเงิน การที่จะใช้ให้ได้ผลดีนั้นต้องใช้ร่วมกันถึงจะเห็นผลได้ดี แต่ปัญหาใหญ่คือ หากคุณไม่มีความรู้ด้านการปรุงยา ไม่มีเครื่องมือในการปรุงยา อาจจะทำให้ได้ตัวยาที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณเองได้

แต่ถ้าคุณอยากได้สมุนไพรที่ดูแลสะเก็ดเงินแบบธรรมชาติจริงๆ แบบที่ไม่มีสเตียรอยด์ ไม่มีสารเคมีอันตราย ปลอดภัย และได้ผลลัพท์ที่ดี ที่เป็นสูตรแพทย์แผนไทยที่เชี่ยวชาญ ก็มียาน้ำมะกรูดสะลอง และผลิตภัณฑ์จากสะลอง ทั้งแชมพูแก้สะเก็ดเงินสะลอง, ครีมแก้สะเก็ดเงินสะลอง, สบู่แก้สะเก็ดเงินสะลอง ทั้งหมดนี้ มีสมุนไพรตามที่เราได้พูดถึงไปทุกตัว เป็นตำรับยาจากแพทย์แผนไทย และควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรที่เชี่ยวชาญ ขึ้นทะเบียนจาก อย. เรียบร้อยแล้ว เราแนะนำให้ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินใช้ผลิตภัณฑ์จากสะลอง เพื่อผลลัพท์ที่ดี

รีวิว-สะเก็ดเงิน-เซ็ท2990

ปรึกษาปัญหาโรคสะเก็ดเงิน หรือสั่งซื้อสินค้า

ปุ่ม-โทรออก-สะลอง
Call Center โทร.093-589-3555
ปุ่ม-เพิ่มเพื่อน-ไลน์-สะลอง
@inthanonherbal
หรือจะสั่งซ์้อผ่านทางแอพพลิเคชั่น Lazada หรือ Shopee ก็สั่งได้เลย มีส่วนลดตลอด
สะลอง-lazada-shop-icon
shopee-shop-icon

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.disthai.com/16488297/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9

https://medthai.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94/

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/46/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9/

https://www.samunpri.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

วรุณ ศรีวรา เทคนิคการแพทย์สมุนไพรไทย
วรุณ ศรีวรา เทคนิคการแพทย์สมุนไพรไทย

วรุณ ศรีวรา เทคนิคการแพทย์สมุนไพรไทย และผู้เขียนบทความประจำเว็บ salongherbal.com

Articles: 4

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า